ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
วิสัยทัศน์
สภาพทั่วไป
อำนาจหน้าที่
ข้อมูลทางสังคม
ผู้บริหารฝ่ายราชการการเมือง
สมาชิก สภา อบต.
ผู้บริหารฝ่ายประจำ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองช่าง
กองคลัง
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
 
งานการเจ้าหน้าที่
 
การจัดองค์ความรู้ ( KM )
 
งานด้านการจัดการศึกษา
 
ศูนย์ข้อมูล อบต.เวียง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งย่อมาจากคำว่า "Knowledge Management" คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดการจายอยู่ในตัวบุลคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (อ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.ร.)
 
KM ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยเพร่ ถ่ายโอนความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organiztion)
 

 ราษฎรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน เนื่องจากประสบภาวะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเกษตรได้และได้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านร่องขามป้อม ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลาว เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่มักประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก จึงปรับเปลี่ยนจากทำนามาขุดบ่อเลี้ยงกุ้งแทน องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงจึงได้มีส่วนร่วมในการวางผังในการขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สามารถทดน้ำ หรือระบายน้ำจากการเลี้ยงกุ้งได้ รวมทั้งได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชย ซึ่งผู้ใช้น้ำหลักคือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และได้จัดทำฝายชะลอน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรสามารถใช้น้ำได้อย่างเพียงพอ

วัตถุประสงค์ของโครงการบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง

๑. ส่งเสริม สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้อย่างมีคุณภาพ

๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสมบูรณ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จากสภาพปัญหาที่พบในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงพบว่าปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรเป็นปัญหาหลักเนื่องจากพื้นที่ตำบลเวียงตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิงในอดีตที่บ้านมาประสบภัยปัญหาภาวะน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของราษฎรซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร

องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงได้ร่วมมือกับผู้นำชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง พัฒนาพื้นที่เลี้ยงกุ้งเนื่องจากในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้เริ่มมีเกษตรกรทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและประสบผลสำเร็จต่อมามีเกษตรกรผู้สนใจจึงได้มีการถ่ายทอดความรู้และจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขึ้นมาและมีการขยายพื้นที่เลี้ยงกุ้งเพิ่มมากขึ้นจากในอดีตไม่พบปัญหาการขาดแคลนน้ำเนื่องจากบ่อกุ้งอยู่ในสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชย หมู่ที่ ๗ ซึ่งสูบน้ำน้ำจากแม่น้ำลาวมาใช้ในการเลี้ยงกุ้ง มีปริมาณเพียงพอต่อมามีการเพิ่มพื้นที่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จำนวน ๕๓ ราย รวม ๑๕๓๒.๕๓ ไร่ ต่อมาในปัจจุบันมีจำนวน 65 ราย พื้นที่ ๒,๗๐๐ ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงจึงได้ร่วมมือกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และผู้นำชุมชนในการวางแผนและจัดวางผังการขุดบ่อเลี้ยงกุ้งเพื่อทดน้ำให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ และไหลสู่หนองน้ำธรรมชาติ คือ หนองยาว และหนองกอก ซึ่งมีพืชหลายชนิด อาทิเช่น ต้นกก หญ้าคา ผักตบชวา ช่วยในการบำบัดน้ำที่ผ่านการเลี้ยงกุ้ง และน้ำจากหนองน้ำดังกล่าว จะถูกผันกลับมาใช้เลี้ยงกุ้งและปล่อยลงสู่แม่น้ำลาว อีกจำนวนหนึ่งทำให้น้ำดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากจำนวนพื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบ ปริมาณน้ำที่สูบจากสถานีสูบน้ำไม่เพียงพอต้องใช้การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อให้มีการกระจายน้ำอย่างทั่วถึง และมีการสร้างฝายสันแม่น้ำลาวขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำให้มีปริมาณเพียงพอในการสูบน้ำให้แก่เกษตรกร

     กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากนวัตกรรม โครงการบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง คือ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง (กลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชย) ทั้งนี้ โครงการนวัตกรรมนี้ ยังส่งประโยชน์ครอบคลุมถึงประชาชนทุกคนในพื้นที่ เนื่องจากน้ำที่ผ่านกระบวนการเลี้ยงกุ้งแล้วนั้น ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่แม่น้ำอิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ประชาชนตำบลเวียงได้ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค และการทำการเกษตร ประชาชนบ้านร่องขามป้อม หมู่ที่ 9 ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง (กลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชย) ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้ง เป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน จากที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงได้มีดำเนินงานนวัตกรรม โครงการบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ร่วมกับทางกลุ่มตั้งแต่การวางแผนผังบ่อกุ้งแต่ละบ่อแบบทดระดับแปลง, การก่อสร้างฝายกักเก็บแหล่งน้ำต้นทุนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง, การบริหารจัดการของกลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และการผันน้ำกลับมาใช้ใหม่ และปล่อยน้ำที่เหลือใช้ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ (แม่น้ำอิง) ทั้งยังมีการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ นั้น ประเด็นสำคัญคือการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่มีการดำเนินกิจการของกลุ่มอย่างเข้มแข็งเพื่อบริหารทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดลำดับการสูบน้ำ การจัดเก็บค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการของกลุ่ม และมีเงินทุนของกลุ่ม ในกรณีที่อุปกรณ์ของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเกิดความเสียหายไม่สามารถสูบน้ำใช้ได้ และทาง อบต.เวียง ไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนั้นไว้ ทางกลุ่มจึงประชุมและมีมติใช้เงินกองทุนของกลุ่มจัดซื้อมอเตอร์ใหม่เปลี่ยนเพื่อให้ใช้งานสูบน้ำต่อได้ และอุทิศมอบเป็นทรัพย์สินแก่ทางราชการ 

     

องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ได้จัดทำโครงการนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนผังการขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อทดน้ำให้ระบายจากที่สูงลงสู่ที่ลุ่ม  และมีการทดน้ำเป็นระยะ เพื่อให้มีการกระจายน้ำจากคลองส่งน้ำสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชยได้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้งวางผังการระบายน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง โดยทดระดับน้ำแต่ละบ่อแล้วนำมาพักไว้ที่หนองน้ำสาธารณะชื่อ หนองยาวและหนองกอก  ซึ่งมีพืชน้ำ อาทิเช่น ต้นกก ผักตบชวา หญ้าคา ฯ ช่วยบำบัดตามธรรมชาติก่อนจะผันน้ำจำนวนหนึ่งมาใช้ในกระบวนการเลี้ยงกุ้งและอีกจำนวนหนึ่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำอิง

          องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงได้บริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำฯ อย่างเป็นระบบ มีการออกข้อบัญญัติตำบล เรื่อง การบริหารกิจการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย   พ.ศ. 2562 เพื่อใช้เป็นกฎระเบียบในการบังคับ และวางแนวทางการสูบน้ำ การชำระค่าธรรมเนียม ตลอดจนการจัดลำดับการสูบน้ำเพื่อลดความขัดแย้งในการแย่งทรัพยากรน้ำ และน้ำที่ผ่านกระบวนการเลี้ยงกุ้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงยังได้เฝ้าระวังในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ และเฝ้าระวังเพื่อรักษาคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การเพิ่มการเก็บกักน้ำโดยสร้างฝาย

     

องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง มีการใช้ทรัพยากรเพื่อดำเนินโครงการนวัตกรรม ได้แก่

(1) ทรัพยากรบุคคล 

(1.1) ผู้บริหารท้องถิ่น ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด วางแผนผังแปลง และผังการระบายน้ำของผู้เลี้ยงกุ้งแต่ละบ่อ

(1.2) ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง ที่ทำหน้าที่ จัดคิว ดูแล รักษา ซ่อมบำรุง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทุกสถานีที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          (2) ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย

          (2.1) กลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชย

          (2.2) สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 1 เชียงใหม่

          (2.3) สำนักงานประมงอำเภอ

          (2.4) ประชาชนที่ร่วมก่อสร้างฝาย

          (2.5) ภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างฝาย

          (3) งบประมาณ

     (3.1) เงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (โครงการปรับปรุงซ่อมแซมสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านทุ่งขันไชย ม.7) 1,499,999.00 บาท

     (3.2) การสนับสนุนค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำตามมติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0202/9537 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2525 เรื่อง อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำเพื่อการเกษตรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจ่ายค่าไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำในอัตราหน่วยละ 60 สตางค์ สำหรับส่วนที่เกินหน่วยละ 60 สตางค์ อปท. ที่รับถ่ายโอนจะต้องรับผิดชอบจ่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

     (3.3) งบประมาณก่อสร้างฝายชะลอน้ำ ประมาณ 350,000.00 บาท (จากการสนับสนุน และบริจาคหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมบูรณาการในการก่อสร้างฝาย ได้แก่ กองกำลังผาเมือง , ร้อย ทพ.3107 , บจก.กรุงไทยแอ็กซ่า ประกันชีวิต ประเทศไทย , องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย , องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง และ กลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำบ้านทุ่งขันไชย

     การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการนวัตกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามประเมินผลโครงการ โดยมีกระบวนการและวิธีการติดตามประเมินผล ดังนี้

(1) ประชุมเพื่อรับทราบปัญหา กำหนดตัวชี้วัดประเมินผล

(2) นำงบประมาณที่ใช้ในโครงการ เพื่อเทียบกับประสิทธิผลที่ได้หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ

(3) ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ รายงานฝ่ายบริหารได้รับทราบ

          โครงการบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง เป็นโครงการนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีน้ำใช้ในการเกษตรกรรม อุปโภค-บริโภค ตลอดทั้งปี แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำต้นทุนที่ใช้ในการเกษตรกรรม รองรับการใช้น้ำของพื้นที่ชลประทานของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า การบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำฯ อย่างเป็นระบบ มีการออกข้อบัญญัติตำบล และกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม เพื่อใช้ประกอบการดำเนินงานกลุ่ม รวมถึงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ใช้ร่วมกันทั้งตำบล ในการดำเนินงานโครงการมีความจำเป็นต้องบูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ หลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ดังนี้

          1. การก่อสร้างฝายกักเก็บน้ำ ได้รับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จากกองกำลังผาเมือง , ร้อย ทพ.3107 , บจก.กรุงไทยแอ็กซ่า ประกันชีวิต ประเทศไทย , องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย , องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง, วัดเทิงเสาหิน, กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารบ่อกุ้ง และกลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำบ้านทุ่งขันไชย ด้านแรงงานในการก่อสร้างได้รับความร่วมมือจากแรงงานจากชาวบ้าน 30 คน/วัน, นักเรียนจากโรงเรียนเทิงวิทยาคม 4 วันๆ ละ 20 - 45 คน, นักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพเทิง 2 วันๆ ละ 20  คน, เรือนจำเทิง 5 วันๆ ละ 5 คน

          2. การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 1 เชียงใหม่ ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

            โครงการบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง มีการถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ร่วมกัน โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 1 เชียงใหม่, กลุ่มผู้นำชุมชน, ผู้ประกอบการร้านอาหารบ่อกุ้ง และเกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ในการกำหนดพื้นที่เกษตรกรรม การวางผังแปลงบ่อเลี้ยงกุ้ง และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมากในกระบวนการเลี้ยงกุ้ง จึงต้องใช้น้ำอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยเกษตรกรรายใหม่ที่มีความประสงค์จะใช้น้ำหรือเข้าร่วมกลุ่ม จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางกลุ่มได้กำหนดไว้ มีการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนาปรับปรุงคือส่งเสริมให้มีการตรวจประเมินแปลงตามคุณภาพระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP)

ผลการตรวจประเมินโครงการบริหารจัดการน้ำกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ในประเด็นการใช้ทรัพยากร มีการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างคุ้มค่า และในการก่อสร้างฝาย มีการใช้ทรัพยากรในชุมชนทดแทนการซื้อวัสดุอื่นจากภายนอก ทั้งนี้ในการดำเนินงานโครงการเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มสมาชิกผู้เลี้ยงกุ้งและชุมชน ในการบริหารจัดการน้ำเลี้ยงกุ้งอย่างเพียงพอ เพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ชุมชนมีความเข้มแข็ง ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนากลุ่มให้ดียิ่งขึ้น

องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง มีการนำผลการประเมินนำเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงาน พัฒนา และต่อยอดโครงการต่อไป


http://www.abt-wiangthoeng.go.th/gallery-detail.php?id=52


 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
เลขที่ 345 หมู่ 12 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160
โทร. 053-795691 แฟกซ์ 053-795691
อีเมล. saraban@abt-wiangthoeng.go.th
:: จำนวนผู้เยี่ยมชม คน | ออนไลน์ขณะนี้ 1 คน ::
Copyright © 2024 www.abt-wiangthoeng.go.th. All Rights Reserved. Design by Chiangrai Enter Soft.

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น