ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
วิสัยทัศน์
สภาพทั่วไป
อำนาจหน้าที่
ข้อมูลทางสังคม
ผู้บริหารฝ่ายราชการการเมือง
สมาชิก สภา อบต.
ผู้บริหารฝ่ายประจำ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองช่าง
กองคลัง
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
 
งานการเจ้าหน้าที่
 
การจัดองค์ความรู้ ( KM )
 
งานด้านการจัดการศึกษา
 
ศูนย์ข้อมูล อบต.เวียง
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ลักษณะที่ตั้ง

                 ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ตั้งอยู่เลขที่ 345 หมู่ที่ 12 ถนนเทิง - เชียงของ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57160 ห่างจากที่ว่าการอำเภอเทิง ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายประมาณ 65 กิโลเมตร สถานที่ราชการใกล้เคียง ได้แก่ สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง มีพื้นที่ทั้งหมด 108.83 ตร.กม. หรือ 68,018.75 ไร่

 

อาณาเขตติดต่อ

                ทิศเหนือ         ติดต่อเขตองค์การบริหารส่วนตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย และเขตเทศบาลตำบลสันทรายงาม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย                 

                ทิศตะวันออก   ติดต่อเขตเทศบาลตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

                ทิศใต้             ติดต่อเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

                ทิศตะวันตก     ติดต่อเขตเทศบาลตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

 

ลักษณะภูมิอากาศ

                อากาศบนภูเขาจะค่อนข้างเย็น แตํฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

                1. ฤดูร้อน        เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม

                2. ฤดูฝน         เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม

                3. ฤดูหนาว      เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีถัดไป

 

ลักษณะของดิน

                 ประกอบด้วยดิน 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ บริเวณที่ราบเป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำระดับต่าง ๆ และบริเวณภูเขาและที่สูงชัน เป็นดินเกิดบนภูเขาและที่ลาดชัน

                 ดินตะกอนลำน้ำระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยดินหลายชนิด เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี เนื้อดินร่วน จนถึงดินเหนียว มีการระบายน้ำดี ปกติใช้ในการทำนา ส่วนดินบนภูเขาและที่สูงชันมีทั้งดินลึกและดินตื้น บางแห่งมีก้อนกรวดและก้อนหินปะปนในเนื้อดิน หรือกระจัดกระจายไปตามผิวดิน ลักษณะเนื้อดิน สีของดิน และปฏิกิริยาดินมีความแตกตํางกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของหินต้นกำเนิด โดยทั่วไปมักมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

 

ลักษณะของแหล่งน้ำ

                 มีแม่น้ำสาขาที่ไหลผ่าน เช่น

                 1. แม่น้ำอิง ต้นน้ำเกิดจากส่วนด้านใต้ของหนองเล็งทราย ก่อนเข้ากว๊านพะเยา ไหลผ่านอำเภอเทิงไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ

                 2. แม่น้ำลาว ที่บรรจบกับแม่น้ำหงาว และไหลผ่านมาบรรจบกับแม่น้ำอิง บริเวณร่องน้ำด้านหลังที่ทำการเทศบาลตำบลเวียงเทิง

                 นอกจากแม่น้ำสาขาที่ไหลผ่าน พื้นที่ตำบลเวียง ยังมีอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำบ้านทุ่งโห้ง อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยไคร้ อ่างเก็บน้ำห้วยริว และอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และใช้ในภาคเกษตรกรรม

 

ลักษณะของไม้และป่าไม้

                   มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง เมื่อถึงฤดูแล้งจะผลัดใบ และมักจะมีไฟป่าเกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องทำแนวกันไฟเป็นประจำทุกปี พื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าดอยทา ป่าห้วยไคร้ เป็นต้น

 

เขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง  มีจำนวน  20  หมู่บ้าน  ดังนี้

1.บ้านห้วยไคร้ หมู่ที่  3    ผู้ใหญ่บ้านชื่อ  นายนิกร               แปงคำ
2.บ้านร่องแช่  หมู่ที่  4   ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจรูญ              ทิพย์บุญศรี      
3.บ้านทุ่งโห้ง      หมู่ที่  5  ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายทินกร            เย็นจุรีย์
4.บ้านห้วยไคร้ใหม่ หมู่ที่  6    ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายประทวน         กรดแก้ว
5.บ้านทุ่งขันไชย   หมู่ที่  7  ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายประดิษฐ์         บัวติ๊บ
6.บ้านห้วยไคร้เก่า   หมู่ที่  8       ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายอนันต์            ปริศนา
7.บ้านร่องขามป้อม หมู่ที่  9    ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายประศาสน์       กุลไพศาล
8.บ้านใหม่   หมู่ที่  10 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายทัศกาล          ทาเนตร
9.บ้านห้วยผึ้ง    หมู่ที่  11 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายยงยุทธ           ภักดีภัทรสกุล  
10.บ้านร่องริว   หมู่ที่  12 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายทองพูน          แก้วนิล
11.บ้านห้วยหลวง หมู่ที่  13   ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญธรรม         บัวทอง
12.บ้านม่วงไพรวัลย์ หมู่ที่  16 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายวสันต์            กว้างขวาง
13.บ้านห้วยไคร้สันติสุข  หมู่ที่  17 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายกิตติพงษ์        แปงคำ
14.บ้านริมอิง     หมู่ที่  18   ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจำนงค์           ศิริใจ
15. บ้านทุ่งเฉลิมพระเกียรติ หมู่ที่  19   ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจำรัส             นันตา
16.บ้านห้วยไคร้เหนือ หมู่ที่  21 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสุทิน             สุทธะ
17.บ้านทุ่งโห้งเหนือ หมู่ที่  22 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายภคิน              ไกลถิ่น
18.บ้านห้วยระเมศ     หมู่ที่  23   ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจันทร์แก้ว       ดอนโศรก
19.บ้านห้วยไคร้ใต้  หมู่ที่  24   ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายรุ่ง                 ทะลา
20.บ้านห้วยไคร้ลานทอง หมู่ที่  25 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายศรีทศ            หมอป่า

 

ลักษณะภูมิประเทศ

                   มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุํมตามแนวเขตภูเขา และเขตป่าไม้ มีแมํน้ำอิง และแมํน้ำลาวไหลผําน ที่อยูํอาศัยของประชาชนบริเวณแถบเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา ทิศใต้มีทางหลวงแผํนดินหมายเลข 1020 (อ.เทิง - อ.เชียงของ) และทิศเหนือมีทางหลวงแผํนดินหมายเลข 1021 (อ.เมืองเชียงราย - อ.เชียงคำ จ.พะเยา) ตัดผ่าน

 

จำนวนประชากร

    หมู่ที่

            หมู่บ้าน

    จำนวน

   ครัวเรือน

     จำนวน         ประชากร       (ชาย)

     จำนวน         ประชากร       (หญิง)

    จำนวน        ประชากร     (รวม)

       3

บ้านห้วยไคร้

179

183

176

359

       4

บ้านร่องแช่          

291

440

402

842

       5

บ้านทุ่งโห้ง         

260

303

317

620

       6

บ้านห้วยไคร้ใหม่

318

448

417

865

       7

บ้านทุ่งขันไชย

241

221

177

398

       8

บ้านห้วยไคร้เก่า

168

227

243

470

       9

บ้านร่องขามป้อม

156

220

236

456

      10

บ้านใหม่              

372

321

350

671

      11

บ้านห้วยผึ้ง          

202

244

225

469

      12

บ้านร่องริว           

398

482

476

958

      13

บ้านห้วยหลวง

252

432

442

874

      16

บ้านม่วงไพรวัลย์

109

143

118

261

      17

บ้านห้วยไคร้สันติสุข

198

267

241

508

      18

บ้านริมอิง            

139

218

235

453

      19

บ้านทุ่งเฉลิมพระเกียรติ

174

198

178

376

      21

บ้านห้วยไคร้เหนือ

173

217

242

459

      22

บ้านทุ่งโห้งเหนือ

200

212

254

466

      23

บ้านห้วยระเมศ

206

237

216

453

      24

บ้านห้วยไคร้ใต้

138

211

192

403

      25

บ้านห้วยไคร้ลานทอง

138

200

221

421

 

               รวม

4,312

5,424

5,358

10,782

ที่มา  :  สำนักงานทะเบียนอำเภอเทิง ณ วันที่ 17 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2565

 

รายละเอียดประชากรที่ขอรับสวัสดิการ

                จำนวนประชากรพิการที่ขึ้นทะเบียน                                                   จำนวน         244    คน

                จำนวนผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ                                          จำนวน       1,667   คน

                จำนวนประชากรที่ติดเชื้อ HIV ที่ขอรับเบี้ยยังชีพ                                 จำนวน           57    คน

1.ข้อมูลด้านสังคม

  1. ศาสนสถาน                 จำนวน        16        แห่ง
  1. วัดหนองปลาขาว                  ตั้งอยู่หมู่ที่  6  บ้านห้วยไคร้ใหม่
  2. วัดโพธิ์สว่าง                        ตั้งอยู่หมู่ที่  6  บ้านห้วยไคร้ใหม่
  3. วัดห้วยไคร้เก่า                     ตั้งอยู่หมู่ที่  8  บ้านห้วยไคร้เก่า
  4. วัดพระธาตุขุนทอง                ตั้งอยู่หมู่ที่  25 บ้านห้วยไคร้ลานทอง
  5. วัดพระธาตุจอมหงส์               ตั้งอยู่หมู่ที่  11 บ้านห้วยผึ้ง
  6. วัดทุ่งโห้ง                            ตั้งอยู่หมู่ที่  5  บ้านทุ่งโห้ง
  7. วัดพระธาตุจุฬามณี                ตั้งอยู่หมู่ที่  19 บ้านทุ่งเฉลิมพระเกียรติ
  8. วัดร่องริว                             ตั้งอยู่หมู่ที่  12 บ้านร่องริว
  9. วัดเทิงเสาหิน                        ตั้งอยู่หมู่ที่  9  บ้านร่องขามป้อม
  10. สำนักสงฆ์บ้านห้วยระเมศ        ตั้งอยู่หมู่ที่  23 บ้านห้วยระเมศ
  11. วัดขันไชยวราราม                  ตั้งอยู่หมู่ที่  7  บ้านทุ่งขันไชย
  12. วัดป่าม่วงไพรวัลย์                  ตั้งอยู่หมู่ที่  16 บ้านม่วงไพรวัลย์
  13. วัดช้างค้ำ                             ตั้งอยู่หมู่ที่  4  บ้านร่องแช่
  14. วัดโพธิ์ศรีพัฒนา                    ตั้งอยู่หมู่ที่  13 บ้านห้วยหลวง
  15. มัศยิด                                 ตั้งอยู่หมู่ที่  12  บ้านร่องริว
  16. โบสถ์คริสตจักร                     ตั้งอยู่หมู่ที่  10  บ้านใหม่

          ฌาปนสถาน                         จำนวน     6      แห่ง

  • ฌาปนสถานบ้านห้วยไคร้
  • ฌาปนสถานบ้านทุ่งเฉลิมพระเกียรติ
  • ฌาปนสถานบ้านร่องริว
  • ฌาปนสถานบ้านร่องขามป้อม
  • ฌาปนสถานบ้านทุ่งขันไชย
  • ฌาปนสถานบ้านร่องแช่

          1.2  กลุ่มมวลชนอาสา

                          1.อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)                            จำนวน    150      คน

                          2.สมาชิกหมอดินอาสา                                                          จำนวน      20     คน

                          3.อาสาสมัครปศุสัตว์                                                             จำนวน     20     คน

                          4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน                                      จำนวน    200    คน

 

1.3 ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ

                          1. งานประเพณีสงกรานต์                เดือนเมษายน

                         2. งานประเพณีแห่เทียนพรรษา   ประมาณเดือนกรกฎาคม

                         3. งานประเพณีลอยกระทง   ประมาณ เดือนพฤศจิกายน

                         4. งานประเพณี แข่งขันเรือพาย  ประมาณเดือน ตุลาคม

                         5. งานประเพณีบุญผะเหวด  ประมาณเดือนกุมภาพันธ์

6. งานประเพณีบุญบั้งไฟ  ประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคม

2.ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

2.1 การประกอบอาชีพของประชากรในพื้นที่

                                1.ด้านเกษตรกรรม                                              ประมาณร้อยละ   60           เปอร์เซ็นต์

                                2.ด้านการค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว                               ประมาณร้อยละ   15           เปอร์เซ็นต์

                                3.การรับจ้างทั่วไป                                               ประมาณร้อยละ   10           เปอร์เซ็นต์

                                4.การรับราชการ                                                 ประมาณร้อยละ   10           เปอร์เซ็นต์

                                5.ประกอบอาชีพอื่น ๆ                                          ประมาณร้อยละ     5           เปอร์เซ็นต์

2.2 พืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ของประชาชนในพื้นที่

                1.ข้าว                                     จำนวนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ       4,000   ไร่

                2.ข้าวโพด                             จำนวนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ       1,500   ไร่

                3.แตงโม                               จำนวนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ          200   ไร่

                4.ลำไย                                   จำนวนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ       1,000   ไร่

2.3 การประกอบกิจการพานิชย์และบริการ  ( ข้อมูลจากงานจัดเก็บรายได้ )

ร้านค้า/ขายของชำ                                                  78           แห่ง

โรงสีข้าว                                                               19           แห่ง

โรงเรียนเอกชน                                                        2            แห่ง

อุตสาหกรรมขนาดเล็ก                                              12           แห่ง

หอพัก/บ้านเช่า/โรงแรม/รีสอร์ท                                    4           แห่ง

ร้านอาหาร                                                             18           แห่ง

ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง                                            4            แห่ง

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร                                    7            แห่ง

ปั๊มน้ำมัน                                                                 1            แห่ง

อู่ซ่อมรถ/เคาะพ่นสี                                                  16           แห่ง

ตลาดสด                                                                 3           แห่ง

3.ข้อมูลด้านการศึกษา

3.1  สถานศึกษา

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   สังกัด อบต.                                               จำนวน       5    แห่ง

        1.1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยไคร้                                

        1.2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งโห้ง                                  

        1.3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านใหม่

        1.4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยหลวง

       1.5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านริมอิง

2. โรงเรียนประถมศึกษา  4  แห่ง เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา   จำนวน 2 แห่ง

        2.1. โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา)

        2.2. โรงเรียนบ้านร่องแช่ (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา)

        2.3. โรงเรียนบ้านทุ่งโห้ง                                                    

        2.4. โรงเรียนบ้านใหม่

3. โรงเรียนเอกชน จำนวน 2 แห่ง จัดการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

        3.1. โรงเรียนกิตติคุณเทิงวิทยา( อนุบาลถึง ป.6)   

        3.2. โรงเรียนเด็กดีพิทยาคม(อนุบาลถึง ม.6)

4.ข้อมูลการบริการขั้นพื้นฐาน

   4.1  สถานที่ราชการในพื้นที่

                          1.สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย   สาขาเทิง     

                          2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   อำเภอเทิง           

                          3. สถานีไฟฟ้าแรงสูง

   4.2  การสาธารณสุข

                          1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่องแช่                        จำนวน      1     แห่ง

4.3  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                          1. รถบรรทุกน้ำ                   ขนาด     10,000   ลิตร      จำนวน     1     คัน

                          2. เรือท้องแบน                    จำนวน        2       ลำ

          4.4  งานโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

                                1.ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก                                จำนวน                   84           เส้นทาง

                                2.ถนนลาดยางแอสฟัลล์ติกคอนกรีต                   จำนวน                   7              เส้นทาง

                                3.ถนนหินคลุก                                               จำนวน                   19           เส้นทาง

                                4.ถนนลูกรังเข้าพื้นที่การเกษตร                          จำนวน                   36           เส้นทาง

                                5.ประปาหมู่บ้าน                                             จำนวน                   14           จุด

                                6.รางระบายน้ำ                                               จำนวน                   12           แห่ง

                                7.ไฟฟ้าสาธารณะ                                            จำนวน                   55           จุด

                                8. สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก                             จำนวน                   7              แห่ง

                                9. ท่อเหลี่ยม                                                  จำนวน                   23           แห่ง

                                10. คลองส่งน้ำเพื่อการเกษตร                             จำนวน                   6              แห่ง

                                11. ฝายกักเก็บและชะลอน้ำ                                จำนวน                   15           แห่ง

                                12. อาคารเอนกประสงค์                                     จำนวน                   8              หลัง

                4.5 แหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค

                                1.อ่างเก็บน้ำ                                                   จำนวน                   5              แห่ง

                                2.หนองน้ำสาธารณะ                                         จำนวน                   8              แห่ง

                                3.แม่น้ำ/ลำเหมือง/ลำห้วย                                 จำนวน                   8              แห่ง


 

     
อัพเดทเมื่อ28/03/2566
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
เลขที่ 345 หมู่ 12 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160
โทร. 053-795691 แฟกซ์ 053-795691
อีเมล. saraban@abt-wiangthoeng.go.th
:: จำนวนผู้เยี่ยมชม คน | ออนไลน์ขณะนี้ 1 คน ::
Copyright © 2024 www.abt-wiangthoeng.go.th. All Rights Reserved. Design by Chiangrai Enter Soft.

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น